วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป

ท้องฟ้า, อาคาร, ปราสาท, พระราชวัง, เมือง, ปารีส

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีภูมิหลังความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ มีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองและมีสภาพสังคม วัฒนธรรมที่สั่งสมสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และจากความคิดริเริ่มเสริมสร้างของประชากรในภูมิภาคนี้ ได้มีผลต่อการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า จนกลายเป็นแหล่งกำเนิดของวิทยาการระดับสูงสมัยใหม่ และเป็นมูลเหตุสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมแพร่หลายไปทั่วโลก อันเป็นรากฐานของการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงโลกสมัยปัจจุบัน และส่งผลให้หลายประเทศในทวีปยุโรปได้กลายเป็นผู้นำด้านวิทยาการความรู้ต่างๆ จนพัฒนาไปสู่ความเจริญทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ ทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมทั้งการค้าและการบริการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคขึ้นเป็นจำนวนหลายกลุ่ม
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของยุโรป เป็นผลสืบเนื่องมาจากการได้รับการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากกรีก -โรมัน แต่ทว่าหลังจากที่อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ล่มสลายลงไปในคริสต์ศักราช ๔๕๓ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๙๙๖ ทางทวีปยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การคุกคามของอนารยชนเผ่าต่างๆ ทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นโดยทั่วไป ฉะนั้นนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๕ เป็นต้นมา ความเจริญด้านต่างๆของทวีปยุโรปแทบจะหยุดชะงัก หรือที่เรียกกันว่าเป็น ยุคมืดของยุโรป ซึ่งสถานการณ์โดยทั่วไปของยุโรปจะเริ่มพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ อีกครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ถึง ๑๕ เมื่อทวีปยุโรปเข้าสู่ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือยุคเรเนอซองส์ (Renaissance) โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ทางวิทยาการแขนงต่างๆ

สถาปัตยกรรม อาคาร พระราชวัง ยุโรป พลาซ่า สถานที่สำคัญ ซุ้ม มหาวิหาร สถานที่สักการะบูชา ศีลจุ่ม สเปน มหาวิหาร สถาปัตยกรรมโกธิค ศาลากลาง ทัวร์ มรดกโลกของยูเนสโก้ สถาปัตยกรรมคลาสสิก สถานที่ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ สถาปัตยกรรมโรมันโบราณ สถาปัตยกรรมไบเซนไทน์ ลาคอรูน่า

วิถีชีวิตของชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นมานั้น นับเป็นยุคของการบุกเบิกไปสู่ความเป็นเหตุเป็นผล และตื่นตัวต่อการค้นคว้าแสวงหาความจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นและความเจริญทางวิทยาการใหม่ๆ ซึ่งมิได้จำกัดขอบเขตเพียงแต่ทวีปยุโรปเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนนอกทวีปอีกด้วย ทั้งประเทศที่เป็นอาณานิคม ตลอดจนประเทศที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป โดยต่างก็ได้รับถ่ายทอดความเจริญเหล่านี้ไปด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรแทนนั้น ได้ทำให้การค้าขายและการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนแทนการเกษตร มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักร และเครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว เกิดการแข่งขันทางการค้า ทำให้ต้องมีการสำรวจดินแดนใหม่ เพื่อแสวงหาแหล่งวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงาน รวมทั้งเพื่อเป็นตลาดระบายสินค้าเหล่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการค้นคว้าวิทยาการที่ใหม่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตและผลผลิตให้ทันสมัยขึ้นตามลำดับ
ในระยะเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อสังคมของชาวยุโรป และได้ขยายขอบเขตออกไปทั่วโลกเช่นกัน ซึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นี้ ได้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยุโรปมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างทั่วถึง และมีการพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา

สถาปัตยกรรม, ตัวเมือง, อาคาร, พระราชวัง, เมือง, ห้องโถง

หากแต่พัฒนาการในทวีปยุโรปก็มีการหยุดชะงักลงอีกครา เมื่อบรรดาประเทศต่างๆในทวีปยุโรป ต่างก็มุ่งแข่งขันหาผลประโยชน์ทางการค้า และขยายอำนาจทางการเมืองอย่างไม่หยุดหย่อน จนเป็นชนวนในการนำยุโรปไปสู่ข้อพิพาทกันหลายครั้ง กระทั่งในที่สุดความขัดแย้งก็บานปลายปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นมา ซึ่งผลของสงครามได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่อบรรดาประเทศต่างๆทั่วทั้งทวีปยุโรป
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นในปีคริสต์ศักราช ๑๙๑๔ จนถึงปีคริสต์ศักราช ๑๙๑๔ หรือตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ความแตกแยกของประเทศต่างๆในยุโรปเกี่ยวกับเรื่องของการแข่งขันอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองยังคงมีอยู่เรื่อยมา และเป็นสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้นมา โดยสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้เกิดขึ้นในปีคริสต์ศักราช ๑๙๓๔ ถึงในปีคริสต์ศักราช ถึงปีคริสต์ศักราช ๑๙๔๑ หรือตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ นี้

สถาปัตยกรรม, อาคาร, พระราชวัง, ปารีส, การท่องเที่ยว, ฝรั่งเศส

สงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ โดยฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย สำหรับฝ่ายอักษะประกอบด้วยประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งในที่สุดฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นประเทศต่างๆในยุโรปเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและการปกครองที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากคริสต์ศักราช ๑๙๘๙ หรือตรงกับในปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ นั้นได้เกิดแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วทั้งทวีปยุโรป ในขณะที่ความคิดด้านคอมมิวนิสต์ได้เสื่อมลง อันเป็นผลให้บรรดาประเทศต่างๆในภูมิภาคยุโรปตะวันออกนั้น แยกตัวเป็นรัฐอิสระขึ้นอีกหลายสิบรัฐ ส่งผลให้การรวมกลุ่มประเทศทั้งของทวีปยุโรปและประเทศต่างๆในโลกเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย

สถาปัตยกรรม, โครงสร้าง, อาคาร, พระราชวัง, ยุโรป, โค้ง



  • ที่มาของข้อมูล จากหนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส ๓๐๕ โลกของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของบริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด หน้า ๓๗ ถึง ๓๘
  • ที่มาของภาพจาก https://pxhere.com/th/photo/770571

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------



ฉันคือคนหนึ่งที่ชื่อปุ๋ย 

พฤหัสบดีที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น